Learning Technology & Media

ThaiMOOC

Thai MOOC (Thailand Massive
Open Online Course)


การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เริ่มต้นจาก
การพัฒนาระบบและจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแบบเปิดในรูปแบบ
ออนไลน์สำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อช่วยผลักดันการยกระดับ
คุณภาพการศึกษาไทย ขยายโอกาสทางการเรียนรู้และส่งเสริม
การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้รูปแบบของการเรียนการสอนผ่าน
แหล่งทรัพยากร การเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดเผยแพร่ผ่าน
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์
โดยโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของ
โครงการ
มหาวิทยาลัย
ไซเบอร์ไทย
+
สำนักงาน
คณะกรรมการ
การอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
+
กระทรวง
วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
+
กระทรวงดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและ
สังคม

วัตถุประสงค์ของโครงการ

พัฒนารายวิชา สื่อ ข้อสอบ
ตามแนวทางการจัดทำรายวิชา
สำหรับการเรียนการสอน
ในระบบเปิด (MOOC)
ออกแบบการเรียนการสอน
และระบุวิธีการวัดและประเมิน
ผลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
การเรียนรู้ของรายวิชา

รายละเอียดกิจกรรมภายในโครงการ

การพัฒนาระบบจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ในระบบ
เปิดที่สามารถรองรับผู้เรียน
ได้อย่างไม่จำกัด โดยที่มีจำนวน
ระบบฐานข้อมูลผู้เรียน ประวัติ
การเรียนและหน่วยกิตสะสม
(Credit Bank and Credit Transfer)
พร้อมระบบการถ่ายโอนหน่วยกิต
การพัฒนามาตรฐานและแนวปฏิบัติการ
จัดการเรียนการสอนและการประกันคุณภาพ
การศึกษาระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOC)
การสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและระหว่าง
มหาวิทยาลัย เพื่อการสร้างและหรือปรับปรุง
สื่อรายวิชาให้เป็นลักษณะ MOOC และประสานความ
ร่วมมือในการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันฯ
การพัฒนารายวิชาซึ่งประกอบด้วยสื่อการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณภาพและ
กระบวนการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิด
สำหรับมหาชน (MOOC)

การพัฒนาคลังข้อสอบ
เพื่อการวัดและประเมินผล
การเรียนรายวิชาในระบบ MOOC
การเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนา
กระบวนการ และระบบการเรียนการสอน
ให้มีคุณภาพมากขึ้น


‘Thai MOOC’ (Thailand Massive Open Online Course) ภายใต้
โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย หรือ ‘Thailand Cyber University Project (TCU)’
โดยกระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
จับมือกับมหาวิทยาลัยสถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ ของไทย
ทั้งภาครัฐและเอกชน


กว่า 120 สถาบัน

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

กลุ่มนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
(12 - 15 ปี)
กลุ่มนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
(16 - 18 ปี)
กลุ่มนักศึกษา
มหาวิทยาลัย
(18 - 25 ปี)
กลุ่มคนทำงาน
(25 - 60 ปี )
กลุ่มผู้ปกครอง
กลุ่มผู้สูงอายุ
จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมทั้งหมด
1,564,310 คน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

เครือข่าย
ทัศนคติของ
คนในสังคม
ทุน
ความสามารถใน
การปรับตัวกับ
สถานการณ์
การรู้เท่าทัน
การเปลี่ยนแปลง
การเข้าถึงข้อมูล

ความท้าทายในการทำงาน

ความร่วมมือของ
หน่วยงานภาครัฐหลายฝ่าย