หน่วยงานขับเคลื่อนระดับพื้นที่

พังงาแห่งความสุข

‘สถานบันเรียนรู้การพัฒนาพังงา
แห่งความสุข’


เป็นพื้นที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการรวมตัว ร่วมคิด
ร่วมทํา ในทุกเรื่อง ทุกพื้นที่ทุกเครือข่ายประเด็น และเป็นพื้นที่
การสื่อสารและถ่ายทอดกระบวนการพัฒนาการทํางานในพื้นที่
จังหวัดพังงา ให้กับบุคคลภายนอก และสังคมทั่วไป ทั้งยัง
สามารถบริหารจัดการตนเองได้อันจะนําไปสู่ความสุขที่ยั่งยืน
ของการพัฒนาชุมชนต่อไป

เป้าหมายของโครงการ

พัฒนาและสนับสนุนการ
เรียนรู้ตลอดชีวิต
สร้างความสุขที่ยั่งยืน
ของการพัฒนาชุมชน

รายละเอียดกิจกรรมภายในโครงการ

ปี 2548
เกิดการตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะทำการรวมคน
เพื่อสร้างเมืองอย่างยั่งยืน
ปี 2554
เกิดแนวคิดพังงาแห่งความสุข พร้อมกับ
เกิด “สมัชชาพังงาแห่งความสุข” ซึ่งเป็น
กระบวนการจัดประชุมที่ให้คนทุกกลุ่มใน
จังหวัดสามารถเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
อย่างสมานฉันท์ และตัดสินใจทำกิจกรรม
ร่วมกันที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
ปี 2555
ดำเนินโครงการรัฐร่วมราษฎร์เดินหน้าพัฒนาสู่
พังงาแห่งความสุข ภายในระยะเวลา 2 ปี
โดยจัดทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์แผนพัฒนา
ชุมชนจนเกิด“ธรรมนูญพังงาแห่งความสุข”
ปี 2556
โครงการรัฐร่วมราษฏร์เดินหน้าพัฒนา
สู่พังงาแห่งความสุข เปิดเวทีรับฟัง
ความทุกข์ของผู้คนครอบคลุมทั้ง 8 อำเภอ
ปี 2560
สมัชชาพังงาแห่งความสุข ได้รับการพัฒนาขึ้น
เป็น"สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข"
ปี 2563
เกิด "สถาบันเรียนรู้การพัฒนาพังงา
แห่งความสุข"จากการร่วมมือระหว่าง
สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข
และคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

กลุ่มนักศึกษา
มหาวิทยาลัย
(18 - 25 ปี)
กลุ่มคนทำงาน
(25 - 60 ปี)
กลุ่มผู้ปกครอง

ยุทธศาสตร์พังงาแห่งความสุข
10 ประการ

สร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
กระจายรายได้
อย่างเป็นธรรม
ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
และการศึกษาตามวิถี
วัฒนธรรม
ส่งเสริมความมั่นคงในที่ดิน
และที่อยู่อาศัยอย่างมั่นคง
เป็นธรรม
ส่งเสริมการฟื้นฟู อนุรักษ์
การใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
แวดล้อมอย่างยั่งยื่นโดยการ
มีส่วนร่วมของชุมชน
ส่งเสริมการฟื้นฟูจารีต
ประเพณี วัฒนธรรม
ตามความหลากหลาย
กลุ่มชาติพันธุ์และอัตลักษณ์
คนพังงา
พังงาเมืองปลอดภัยในชีวิต
ทรัพย์สิน และปลอดภัย
เมื่อภัยมา
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุก
ภาคส่วนเพื่อลดอบายมุข
สร้างครอบครัวแห่งความสุข
อย่างยั่งยืน
ส่งเสริมระบบการจัด
สวัสดิการชุมชนสู่สวัสดิการ
สังคมโดยความร่วมมือ 4
ฝ่าย คือ ชุมชน ท้องถิ่น รัฐ
เอกชน
ส่งเสริมระบบป้องกันผลกระ
ทบต่อสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกัน
และสร้างความเป็นธรรม เท่า
เทียมในระบบการดูแลสุขภาพ
อย่างมีส่วนร่วม
ส่งเสริมการเมืองภาค
พลเมือง ประชาธิปไตยชุมชน
เพื่อการสร้างธรรมาภิบาลใน
การบริหารโดยการมีส่วนร่วม
จากทุกภาคส่วน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

เครือข่าย
การปรับเป้าหมาย
และทิศทาง
ความร่วมมือของ
คนในทีม

ความท้าทายในการทำงาน

การละเลยจาก
ภาครัฐ
โครงสร้างของรัฐ