Edupreneurs

Deschooling Game

Deschooling Game


คือ กลุ่มกิจกรรมสร้างสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบของบอร์ดเกม
โดยมีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดได้จาก การลงมือทำการทดสอบ
การได้ลองเลือกลองคิด ฯลฯ อีกทั้งเชื่อมั่นว่า การมีความ
หลากหลายในการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาทักษะ
จึงได้มีการคิดค้นและหาสื่อกลางอื่นๆ มาสร้างเป็นการเรียนรู้
บอร์ดเกมเป็นกระบวนการเรียนรู้หนึ่งที่ทำให้เราได้ลองคิด
ลองตัดสินใจ ถึงแม้ผิดพลาดก็สามารถเรียนรู้ที่จะเริ่มใหม่ได้

เป้าหมายของโครงการ

สร้างองค์ความรู้
ผ่านสื่อรูปแบบ
"บอร์ดเกม" โดยมุ่งหวัง
ที่จะขยายผลทั้งใน
ระดับโรงเรียน
และองค์กร
สร้างบรรยากาศ
ให้รู้สึกถึงความเท่าเทียม
และการมีส่วนร่วม
ระหว่างกันในห้องเรียน
(ครู - นักเรียน)
หรือภายในองค์กร
(หัวหน้างาน - ลูกน้อง)
เปลี่ยนวัฒนธรรม
การเล่นเป็นการเรียน
ผ่าน "บอร์ดเกม"
ยกระดับกระบวนการ
ออกแบบบอร์ดเกม
ให้กลายเป็น
กระบวนการเรียนรู้
(ในฐานะ Learning Designer)
สนับสนุนให้วงการ
การศึกษาองค์กร
การเรียนรู้บอร์ดเกม
ได้ทำงานร่วมกัน

หลักคิดในการทำงาน

ผลักดันให้บอร์ดเกมเป็น
วัฒนธรรม การเรียนรู้ใน
ห้องเรียน
ยกระดับกระบวนการออกแบบ
บอร์ดเกมให้กลายเป็น
กระบวนการเรียนรู้ (ในฐานะ
Learning Designer)
สนับสนุนให้วงการ
การศึกษาองค์กรการเรียนรู้
บอร์ดเกมได้ทำงานร่วมกัน
จัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้
บอร์ดเกม เพื่อเป็นต้นแบบใน
การไปใช้ต่อ และสร้างการเรียนรู้
จากองค์ความรู้ที่หลากหลาย
เผยแพร่วิธีการออกแบบ
บอร์ดเกม
ผ่าน workshop และรับเป็นที่
ปรึกษาพร้อมออกแบบ
จัดงานที่เกี่ยวข้อง
กับบอร์ดเกมเพื่อ
การเรียนรู้

รายละเอียดกิจกรรมภายในโครงการ

ปี 2558

เริ่มรวมกลุ่ม "เถื่อนเกม"
ก่อตั้งเป็นบริษัท
"Deschooling Game"
ปี 2560 - 2561

จัดอบรมการสื่อสาร
การเรียนรู้ ผ่านบอร์ดเกม
ร่วมกับสำนักการศึกษา
และครู กทม.
ปี 2562

ร่วมกับ insKru อบรม
ครูในหัวข้อ "ครูเอทีฟ
Game-Based Learning
Design"
ปี 2563

โครงการอบรมและประกวด
ออกแบบบอร์ดเกม
Print and Play เล่น
เรียนรู้ ไร้พรมแดน
ร่วมกับ TK Park
ปี 2564
ร่วมกับ สำนักงานคณะ
กรรมการกำกับและส่งเสริม
การประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) จัดโครงการประกวด
นวัตกรรมบอร์ดเกมด้านการประกันภัย
"OIC Board Game Innovation"
ภายใต้แนวความคิด "ความรู้ ความเข้าใจ
ด้านการประกันภัย : Insurance Literacy"
ปี 2565
โครงการอบรมและประกวด
ออกแบบบอร์ดเกม Print &
Play เล่น เรียนรู้ ไร้พรมแดน
ปีที่ 2 ในหัวข้อ "Book on Board
เปลี่ยนหนังสือที่รักให้กลายเป็น
บอร์ดเกมที่ใช่" ร่วมกับ TK Park
และสมาคมบอร์ดเกมแห่งประเทศไทย
ปี 2566

เปลี่ยนเป็น สถาบัน
บอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้

รูปแบบการดำเนินงาน

บอร์ดเกมหมุนเวียน ร่วมพัฒนากับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) บอร์ดเกม Moneyfolio
โดย INVESTORY พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ทุนพัฒนาบอร์ดเกม
The Welfare เพื่อเข้าใจความสำคัญของรัฐสวัสดิการ

กลุ่มเป้าหมายโครงการ

กลุ่มคนทำงาน
(25 - 60 ปี)
กลุ่มผู้ปกครอง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การสร้างทายาท
การเข้าถึงข้อมูล
การได้ลงมือทำ
ความเข้าใจ
ประเด็นในพื้นที่

ความท้าทายในการทำงาน

โครงสร้างของรัฐ
ทรัพยากรบุคคุล
ความขัดแย้ง
ทางความคิด
การทำงานซ้ำ
ซ้อนระหว่าง
หน่วยงานรัฐ