หน่วยงานขับเคลื่อนระดับพื้นที่

กลุ่มมะขามป้อม

"มะขามป้อม" เป็นกลุ่มนักกิจกรรมที่ทำงาน
ในหลากหลายบทบาท ทั้งเป็นแหล่งชุมนุม
การแสดงหลากหลายประเภท เป็นหัวเรือใหญ่
ของกลุ่มเครือข่ายละครเด็กและเยาวชน
ทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อรณรงค์ประเด็น
สังคมต่างๆ รวมทั้งเป็นนักการศึกษา ซึ่งใช้
กระบวนการสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
เป็นวิทยากรด้านการจัดการความขัดแย้ง
และร่วมผลิตผลงานกับศิลปินและองค์กร
จากนานาประเทศ

ภารกิจหลักของกลุ่มมะขามป้อมคือ การใช้สื่อละครเพื่อเป็นกระบอกเสียง
ให้กับเด็กเยาวชนและชุมชน รวมถึงสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง ทั้งในระดับชุมชน
ภูมิภาค และนานาชาติเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมตามความฝัน

เป้าหมายของโครงการ

สร้างทักษะความ
คิดสร้างสรรค์
สร้างทักษะรู้เท่าทัน
สื่อสารสนเทศ
สร้างทัศนคติ
ต่อการเรียนรู้
ตลอดชีวิต

ระยะเวลาการดำเนินโครงการ

ปี 2519
เริ่มเกิดขึ้นในช่วงที่สังคม บอบช้ำ จากวิกฤตการณ์ ทางการเมือง เป็นห้วงเวลา ของการฟื้นฟู สังคมจากกลุ่ม เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยยุค 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ที่กลับมารวมตัวกันอีกครั้งใน
ปี 2519
กลุ่มละครมะขามป้อมก่อตั้ง ขึ้นเป็นกลุ่มสื่อที่ทำงานกับ ชุมชนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความ ตระหนักในประชาธิปไตย โดยเป็นกลุ่มที่มีความถนัดด้านการละคร นักเขียนกวีนักดนตรีนักแสดงกลุ่มสื่อ ชาวบ้าน(มะขามป้อม)ใช้กระบวนการละครเร่ เป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อพัฒนา วัฒนธรรมชุมชนในฐานะเป็นสื่อกลางเล็กๆ ที่สะท้อนปัญหาชาวบ้านสู่สังคม
ปี 2523 - 2531
ยุคละครเร่ (Touring Theatre) และการอบรมทักษะ ละคร– สื่อการสอน แบบละคร
ปี 2519
ยุคละครเพื่อการพัฒนา (CommunityTheatre) ลิเกมะขามป้อมและ "มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม)"

ทีมงานที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายละครการศึกษา
มุ่งผลิตละครที่มีคุณค่า ส่งเสริม
ความคิดจินตนาการ และ จิตใจ
ที่ดีงามให้กับเด็กและ
เยาวชนในรูปแบบการแสดง
ที่หลากหลาย
ฝ่ายงานฝึกอบรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการ
(Workshop) เผยแพร่
กระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
ละครที่เน้นให้เด็กรู้จักตนเอง
ผ่านการคิดการจินตนาการ และ
การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
ฝ่ายละครชุมชน
ให้ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์
จากบุคคลากรของมะขามป้อมที่
ส่งผ่านไปสู่เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในองค์กร
รวมถึงการอบรมทักษะต่างๆ
ให้แก่นักแสดงละครนักวิชาการ
คณะกรรมการในชุมชน

มะขามป้อมเป็นผลไม้ที่กินเข้าไปแรกๆ จะมีรสฝาดๆ แต่พอดื่มน้ำตามก็จะได้
รสหวานมีประโยชน์ถือเป็นยาได้ซึ่งก็เป็นความหมายเป็นนัยที่ตรงกับการทำงาน
ของเราละครแปลกๆ แต่กลับสนุกสนานยิ่งดูไปก็ยิ่งได้สาระประโยชน์
ที่เอาไปใช้ในชีวิตได้เสมือนเป็นยาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน

ผลลัพธ์การดำเนินงาน

Chiangdao Learning Space
เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้
โครงการนี้เป็นการทำงานร่วมกับคุณครู เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาและผู้ประกอบ
การในอำเภอเชียงดาว โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนัก 4 สสส. มีกลุ่มเป้าหมาย
ทดลองนำร่องกับ 3 โรงเรียนในอำเภอเชียงดาว ได้แก่
โรงเรียนบ้านทุ่งหลุก
โรงเรียนบ้านทุ่งละคร
โรงเรียนบ้านวังจ๊อม
เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ เป็นหลักสูตรบูรณาการระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ
“มุ่งพัฒนาพื้นที่แห่งการเรียนรู้” เพื่อชูแนวคิด “เมืองแห่งการเรียนรู้”
หลักสูตรที่เกิดจากประสบการณ์จริง
ทีมวิทยากรตัวจริงที่เปี่ยมประสบการณ์จากการลงมือทำจริง สกัดบทเรียน
แห่งชีวิตของพวกเขามาเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แสนสนุกสุดสร้างสรรค์
เน้นการมีส่วนร่วมจากประสบการณ์ตรงของผู้เรียนบนฐานทฤษฎี
“การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง” (Transformative Learning )
หลักสูตรระดับกระบวนการ
Facilitator
  • Creative Classroom ห้องเรียนสร้างสรรค์
  • Creative Drama ละครสร้างสรรค์เพื่อการ
    เข้าใจตัวเอง
  • Creative Communication การสื่อสาร
    สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
  • Active Learning Design การออกแบบการ
    เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
  • Media Literacy การเรียนรู้เท่าทันสื่อ
หลักสูตรระดับ
Trainer
  • Transformative Learning Designer
    นักออกแบบการเรียนรู้ที่มีหัวใจ
  • Facilitator Skills ทักษะกระบวนกร
    Drama for Educator ละครสำหรับ
    นักเรียนรู้
  • Critical Classroom ห้องเรียนเชิง
    วิพากษ์
  • Social Innovation นวัตกรสังคม
หลักสูตรระดับ
Changemaker
  • Dialogue Drama: Art of Peace
    ละครถกแถลง ศิลปะสร้างสันติ
  • Inspiring Learning Organization
    งานบันดาลใจในองค์กรแห่งการเรียนรู้
  • Collective Leadership for Social
    Movement เครื่องมือของผู้นำ และ
    ขบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

เครือข่าย
การรู้เท่าทัน
การเปลี่ยนแปลง

ความท้าทายในการทำงาน

ทรัพยากรบุคคุล