Learning Technology & Media

หอศาสตราแสนเมืองฮอม

หอศาสตราแสนเมืองฮอม


พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้อาวุธโบราณล้านนา ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวชาติพันธุ์ไทและบ่อเหล็กเมืองลอง ที่มีจุดเริ่มต้นจากบรรพบุรุษและความชื่นชอบในการสะสมของเก่าสู่การสร้างพิพิธพัณฑ์ที่คืนชีวิตสู่ชุมชน สร้างการเรียนรู้ให้ชุมชนผ่านทุนทางวัฒนธรรม การทำงานกับวัด หน่วยงานราชการ และเยาวชนในท้องถิ่นด้วยกลยุทธ์เชิงรุกในการสร้างเครือข่ายจากหน่วยงาน/องค์กรภายนอกชุมชน เพื่อสร้างเเรงกระเพื่อมจากภายนอกสู่การปลุกวิถีชุมชนให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

เป้าหมายของโครงการ

แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน
เกี่ยวกับแหล่งบ่อเหล็ก อาวุธโบราณ
เครื่องราง และศิลปะการต่อสู้ที่เป็น
ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน
การส่งต่อองค์ความรู้ในอดีต
จากปราชญ์ชุมชนผ่านแนวคิด
พิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่เชื่อมคน
ชุมชน และการเรียนรู้เข้าไว้ด้วยกัน

รายละเอียดกิจกรรมภายในโครงการ

2536
เริ่มสะสมอาวุธของเก่า
2552
จัดแสดงในชื่อ "เฮือนแสน เมืองฮอม"
2561
ขยายพิพิธภัณฑ์และเปลี่ยนชื่อเป็น "หอศาสตราแสนเมืองฮอม"
2562
สร้างอาคารใหม่เพื่อจัดแสดงในชื่อ "เจ้าใหม่แสนเมืองฮอม"

ตัวอย่างผลงานและกิจกรรม

งานเปิดบ่อเหล็ก
พิพิธภัณฑ์เกษตร
เฉลิมพระเกียรติ
งานกฐินร่วมกับ
ชุมชนและวัด
งานวันดินโลก
การสอนเด็ก ๆ
ใช้อาวุธ
การสอนฟ้อนรำ
ของภาคเหนือ

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

กลุ่มนักเรียนชั้น
ประถมศึกษา
(6-11 ปี)
กลุ่มนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
(12-15 ปี)
กลุ่มนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
(16-18 ปี)
กลุ่มคนทำงาน
(25-60 ปี)
กลุ่มผู้สูงอายุ

หน่วยงานที่เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์

หน่วยงานการศึกษา
หน่วยงานเฉพาะทางด้านพิพิธภัณฑ์และประวัติศาสตร์
หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชน
กลุ่มนักท่องเที่ยวสายมู

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ความเข้าใจ
ประเด็นในพื้นที่
ความสามารถ
ในการทำงาน
ด้วยตนเอง

ความท้าทายในการทำงาน

ความร่วมมือของ
หน่วยงานภาครัฐหลายฝ่าย
ความขัดแย้ง
ทางความคิด