หน่วยงานขับเคลื่อนระดับพื้นที่

พิพิธภัณฑ์เล่นได้

พิพิธภัณฑ์เล่นได้


เกิดจากการทํางานร่วมกันของชุมชนและนักพัฒนาสังคม
(กลุ่มคนเฒ่าคนแก่) ที่นําความรู้ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ
ออกมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการทําของเล่น
พื้นบ้าน ในแต่ละยุคสมัย สู่การพัฒนาเด็กและเยาวชน ผ่าน
ภูมิปัญญาพื้นบ้านรวมทั้งการสร้างพื้นที่เล่นรักษาของเล่นเก่า
และพัฒนาของใหม่ ให้แก่เด็กและผู้ที่สนใจ

เป้าหมายของโครงการ

บ่มเพาะทักษะความคิด
สร้างสรรค์ โดยการเปิดพื้นที่
สร้างสรรค์ เพื่อเด็กและเยาวชน
พัฒนาพิพิธภัณฑ์แห่ง
นี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้
ทางด้านภูมิปัญญา
นำความรู้ภูมิปัญญาของ
ผู้สูงอายุ ออกมาถ่ายทอดสู่
การพัฒนาเด็กและเยาวชน

ระยะเวลาการดำเนินโครงการ

ปี 2541
กลุ่มคนเฆ่าคนแก่ ก่อตั้งขึ้น ผ่านการทำงานร่วมกันของคนหนุ่มสาวและคน เฆ่าคนแก่ ที่มีแนวคิดอยากเห็นการมีส่วนร่วมใน การแบ่งปันองค์ความรู้สู่การพัฒนาเด็กและ เยาวชน
ปี 2555
- พิพิธภัณฑ์บ้านป่าแดด "ของเก่าเล่นได้-ตายาย ทำเอง" - ของเล่นพื้นบ้าน สื่อเพื่อการเรียนรู้และสอน ทำของเล่นพื้นบ้าน - รอยทางของคนเฒ่า - ของเล่นพื้นบ้าน - ของเล่น...ความหมายที่มากกว่า: กระบวนการ และเทคนิค - การพลิกฟื้นศิลปะชุมชน - พิพิธภัณฑ์เล่นได้ความสุขไร้กาลเวลา - BRIDGING GENERATIONS WITH TOYS
ปี 2557
จัดกิจกรรม ของเล่นพื้นบ้าน จินตนาการที่ยังไม่รู้จบ
ปี 2555
คณะผู้จัดทำพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายที่ทำการไปที่แห่ง ใหม่ ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก โดยใช้ชื่อว่า "โรง เล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้"

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

ประชาชนทุกเพศ
ทุกวัย

รายละเอียดกิจกรรมภายในโครงการ

ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ มีลักษณะเป็นศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชน ข้อมูลแหล่งเรียนรู้
ในชุมชนและบ้านที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าชนิดต่างๆ รวมถึงได้จัดแสดงของเล่นพื้นบ้านออกเป็น
7 ตู้การเรียนรู้ ให้อเด็กๆ มานั่งเล่นเรียนรู้ สร้างจินตนาการ และสนุกไปกับของเล่น ประกอบด้วย
ตู้ที่ 1 "ฝูงสัตว์มีชีวิตด้วยจินตนาการ"
เพื่อฝึกการสร้างจินตนาการด้วยของเล่น ที่ใส่กลไกในสัตว์ประเภทต่างๆ
เช่นสัตว์ล้อ สัตว์วิ่ง และสัตว์ชัก
ตู้ที่ 2 "ลูกข่างไม้หลากหลากชนิด"
เป็นของเล่นที่โปรดปรานของเด็กผู้ชาย หมุนได้โดยอาศัยการปั่น
เช่นลูกข่างโว้ลูกข่างสตางค์ ลูกข่างสะบ้า
ตู้ที่ 3 "ทั้งหมุน ทั้งบิน"
จัดแสดงของเล่นที่อาศัยการสังเกตมาประดิษฐ์
เช่น กำ หมุน จานบิน โหวด
ตู้ที่ 4 "ตีลังกาลีลาเยี่ยม"
จัดแสดงของเล่นที่มีท่าทางการกระโดดตีลังกาไปมา
เช่น อมรเทพ บาร์สูง
ตู้ที่ 5 "เกมส์เชาวน์ปัญญาฝึกไหวพริบ"
จัดแสดงของเล่น ที่เล่นจนลืมเวลาเช้าเวลาเย็น เช่น พญาลืมแลง
พญาลืมงาย
ตู้ที่ 6 "เรียงร้อย สร้อยโมบาย ได้สมาธิ"
จัดแสดงของเล่นที่ฝึกหัดการร้อยเชือกจากไม้แกะสลักรูปสัตว์ต่างๆ
ตู้ที่ 7 "จำ ลองวิถีชีวิตในอดีต"
จัดแสดงของเล่นที่เล่าเรื่องราววิถีชีวิต เช่น ครกมอง ควายกินหญ้า
และคนเลื่อยไม้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ทุน
การได้ลงมือทำ
ความร่วมมือของ
ชุมชน/
นิเวศเชิงพื้นที่

ความท้าทายในการทำงาน

ทรัพยากรบุคคุล