Learning Technology & Media

อะไรอะไรก็ครู

"อะไรอะไรก็ครู"


Facebook Page ที่นิยามตนเองว่าพื้นที่นี้คือ "ทุกสิ่งที่สามารถ
เป็นครูได้
" อาจกล่าวได้ว่าตอนนี้เปรียบเสมือน "กระบอกเสียงของครู"
ด้วยการโพสต์เรื่องราวที่สะท้อนมุมมองของครู ทั้งสิ่งที่ครูทำ
ปัญหาที่ครูพบเจอความรู้สึกต่อนโยบายการศึกษาหรือสถานการณ์
ในสังคม ณ ช่วงเวลาต่างๆเป็นพื้นที่สำหรับคุณครูหรือบุคลากร
ทางการศึกษาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันเป็นพื้นที่
ที่ชวนตั้งคำถาม ชวนคิดในมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับการศึกษา
"อะไรอะไรก็ครู" ไมใช่ตัวแทนของครูเท่านั้น แต่เป็นตัวแทนของเด็ก
ของผู้บริหารของทุกคนที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา เพราะเรื่องราว
ของการศึกษาไม่ใช่มีเพียงแค่ครู

วัตถุประสงค์ของโครงการ

สร้างพื้นที่สำหรับสื่อสาร
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับครู

โครงการออนไซต์

ยังไงยังไงก็ครู
“เจียงฮายเน็ตน่อ”
(Chiangrai NetKnow)
ห้องเรียนช่วยเติมพลังและไอเดียในการสอน
ความร่วมมือระหว่างครูในพื้นที่เชียงราย
เกษตรกร เครือข่ายในพื้นที่ เช่น
พิพิธภัณฑ์ของเล่น
"เติมใจครู กอบกู้ห้องเรียน"
เมื่อวันที่18 ธันวาคม 2564
เติมไฟครูสู่การเป็นครูคนใหม่ที่เข้าใจผู้เรียน
สร้างเทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง และการประยุกต์
ใช้สิ่งใกล้ตัวเพื่อเป็นสื่อเข้าถึงจิตใจผู้เรียน
"ครูลองดี"
เมื่อที่19 ธันวาคม 2564
การใช้กระบวนการ Dicussion Debate และ
Dialogue เพื่อเข้าใจความต่างระหว่าง Gen
ความ เห็นต่างทางการเมือง และการเท่าทัน สื่อในปัจจุบัน
กิจกรรมในเพจ
ความสุขของคนเป็นครู (แชร์ภาพความสุขของครูจัดปีละครั้ง 5 ปี)

การทำเพจ “อะไรอะไรก็ครู” ถ้าเราบ่นอย่างเดียวปัญหาก็ยังคงอยู่ผมจึงลองจับประเด็น
การศึกษาต่างๆ ขึ้นมา มาพูดถึงมันด้วยมุมมองใหม่ที่ไม่ใช่แค่การบ่น เกิดการร่วมกลุ่ม
ของครูที่ไม่รู้จะคุยปัญหากับใครหรือ ครูรุ่นเก่าที่เขาตั้งใจทำเพื่อเด็กมาโดยตลอด
พวกเขาเริ่มมีการแชร์เรื่องราวของกันและกัน เริ่มเห็นความ หวังในการศึกษาไทย
เพราะรู้ว่ามีครูอีกหลายคนกำลังทำอะไรสักอย่างเพื่อพัฒนาด้านนี้อยู่



ครูมะนาว–ศุภวัจน์พรมตัน ผู้ก่อตั้งเพจ อะไรอะไรก็ครู

รายละเอียดเนื้อหาภายในโครงการ

ลักษณะของเนื้อหาที่ปรากฏในเฟซบุ๊กแฟนเพจ“อะไรอะไรก็ครู” แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ
การประชาสัมพันธ์
ได้แก่ด้านการศึกษา
ด้านการอบรม ด้านการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นด้านข่าว
ที่เป็นกระแสสังคม ด้านร่วมกิจกรรม
แจกรางวัล ด้านแนะนำสาระความรู้
จากเพจอื่น ๆ และด้านวันสำคัญต่าง ๆ
เรื่องส่วนตัวครูและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
คือ ด้านความรัก
ด้านรูปร่างและบุคลิกภาพ
ด้านการบริหารโรงเรียน
ด้านนักเรียนและผู้ปกครอง
และด้านจรรยาบรรณครู
สวัสดิการครู
ได้แก่ด้านที่อยู่อาศัย
และสิ่งอำนวยความสะดวก
และด้านงบประมาณ
ภาระหน้าที่ครู
ได้แก่ด้านการเรียนการสอน
ด้านงานเอกสาร ด้านงานพิเศษ
และด้านการพัฒนาตนเอง
ฐานะทางเศรษฐกิจของครู
ได้แก่ด้านเงินเดือนครู
และด้านหนี้สินครู
"*แหล่งอ้างอิงข้อมูล: ภาวิณี อุบล และ สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2563). การศึกษาเนื้อหาที่ปรากฏในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “อะไรอะไรก็ครู”.
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 113 - 132."

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

กลุ่มคนทำงาน
(25 - 60 ปี)
กลุ่มผู้สูงอายุ
แสดงผลสัดส่วนผู้ติดตามในเพจ
กลุ่มผู้ติดตามในเพจทั่วประเทศ
จำนวน 451,200 คน*
โดยแบ่งตาสัดส่วนดังนี้
1. ตามช่วงอายุ
กลุ่มอายุ 34 - 44 ปี
23.4%
กลุ่มอายุ
45 - 54 ปี
5.8%
กลุ่มอายุ
55 - 64 ปี
2.3%
กลุ่มอายุ 18 - 24 ปี
17.9%
กลุ่มอายุ 25 - 34 ปี
49.5%
2. ตามเพศ
ชาย
27.3%
หญิง
72.7%
3. ข้อมูลของ 4 จังหวัดที่ติดตามเพจมากที่สุด
เชียงใหม่
53.5%
นครราชสีมา
3.1%
นนทบุรี
2.7%
กรุงเทพ
37.9%
*อัปเดต ณ วันที่ 3 มกราคม 2566

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

เครือข่าย
ทัศนคติของ
คนในสังคม
ความสามารถใน
การปรับตัวกับ
สถานการณ์
การรู้เท่าทัน
การเปลี่ยนแปลง
การขยายมุมมอง
การใช้พลังใจใน
การทำงาน
ระหว่างกัน

ความท้าทายในการทำงาน

ความขัดแย้ง
ทางความคิด
การละเลยจาก
ภาครัฐ
โครงสร้างของรัฐ